Resistor (II)
ดังที่ได้กล่าวไปแล้วในภาคแรก ว่าตัวต้านทานมีหลากหลายประเภท หลายแบบ ซึ่งวันนี้เราจะเอาเจ้าตัวต้านทานชนิดที่เรียกว่า"ตัวต้านทานปรับค่าได้" มาลองทำอะไรเล่นๆกัน ก่อนอื่นมารู้จักกับมันก่อนดังรูปที่ 1
รูปที่ 1 ตัวต้านทานปรับค่าได้ |
ตัวต้านทานชนิดนี้เราอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งตามลักษณะการใช้งานว่า R Volume ถ้าสังเกตดีๆตามเครื่องเสียง วิทยุ โทรทัศน์รุ่นเก่าๆ จะต้องมีเจ้าตัวนี้อยู่เป็นตัวปรับความดังของเสียงโดยการหมุน ซึ่งมันจะมีขาตั้งแต่ 2 ขาขึ้นไป แต่วันนี้เราจะใช้ตัวที่มี 3 ขาซึ่งหาได้ง่ายตามร้านขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป หรือถ้าใครมีเครื่องใช้ไฟฟ้าเก่าๆ ที่เสียแล้วและไม่ได้ใช้งานอีกแล้วมีเจ้าตัวนี้อยู่ก็สามารถงัดแงะออกมาใช้ได้นะครับ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
วันนี้เราจะมาทำ " หลอดไฟปรับความสว่างได้ "
อุปกรณ์ที่ใช้
1. ตัวต้านทานแบบปรับค่าได้( Variable Resistor)
รูปที่ 2 ตัวต้านทานปรับค่าได้ |
ตัวต้านทานชนิดนี้หาซื้อได้ตามร้านอิเล็กทรอนิกส์ทั่วๆไปครับ ค่าของความต้านทานที่ใช้จะเป็น 10K ขึ้นไปหรือมากกว่าก็ได้ครับ ชนิด B ซึ่งจะมีหน้าตาดังรูปที่ 2 มี 3 ขา
ราคาประมาณ 10 - 15 บาท
2. หลอดไฟ LED
รูปที่ 3 หลอดไฟ LED |
หลอดไฟ LED ขนาด 0.5 mm จะใช้สีใดก็ได้ มีสองขา ถ้าซื้อมาใหม่ๆ จะมีขายาวและสั้นไม่เท่ากัน ซึ่งขาที่ยาวกว่าจะเป็นขั้วบวก สั้นกว่าจะเป็นขั้วลบ หรือถ้าไปหามาแล้วขาถูกตัดยาวเท่ากัน ให้สังเกตตรงฐานของหลอด LED จะมีรอยตัดอยู่ด้านหนึ่ง นั่นก็คือขั้วลบนั่นเอง หาซื้อได้ในราคา หลอดละ 1 - 10 บาท แล้วแต่ความสว่าง
3. สายไฟ, ถ่านไฟฉายขนาด 1.5 V 2 ก้อน, รางถ่าน
สายไฟขนาดใดก็ได้แล้วแต่สะดวก รางถ่าน AA ขนาดสองก้อน และถ่าน AA ขนาด 1.5 V สองก้อน
วิธีทำ
- อันดับแรกเราต่อสายไฟเส้นแรกเข้ากับตัวต้านทานดังรูปที่ 5 โดยให้ต่อขาที่ 1 และ 2 เข้าด้วยกัน
รูปที่ 5 ต่อขา 1 และ 2 เข้าด้วยกัน |
- จากนั้นใช้สายไฟอีกเส้นต่อขาที่ 3 ไปยังขั้วบวกของหลอด LED
- ต่อขั้วลบของหลอด LED ไปยังรางถ่านขั้วลบ
- ต่อรางถ่านขั้วบวกไปยังขาที่ 1 และ 2 ของตัวต้านทาน ที่ต่อไว้ตอนแรก ดังรูปที่ 6
รูปที่ 6 การต่อทั้งหมด |
- เมื่อทำเสร็จแล้วลองใส่ถ่านแล้วทดลองหมุนตัวต้านทานไปทางด้านทวนเข็มนาฬิกาจนสุด สังเกตว่าหลอดไฟจะสว่างน้อยมาก หรือ ถ้าเราใช้ค่าความต้านทานมากๆ หลอดไฟจะดับสนิทไปเลย ดังรูปที่ 7
รูปที่ 7 ลองหมุนตัวต้านทานไปทางทวนเข็มนาฬิกาจนสุด |
- ทดลองหมุนไปทางตามเข็มนาฬิกาจนสุดเช่นกัน สังเกตว่าไฟจะติดสว่างขึ้นเรื่อยๆ จน สว่างมาก ดังรูปที่ 8 แต่ถ้าหลอดไฟไม่ติดเลยไม่ว่าจะหมุนไปทางไหน แสดงว่าต้องมีการต่ออะไรบางอย่างผิดขั้ว ลองกลับไปเริ่มต้นดูใหม่นะครับ ไม่ยากๆ ^^
รูปที่ 8 หมุนตัวต้านทานไปทางตามเข็มนาฬิกาจนสุด |
ถ้ายังไม่เห็นภาพลองดูดังคลิปตัวอย่างที่ผมทำนะครับ พอดีผมใช้หลอด LED สีเขียวแบบสว่างมากหน่อย ^^
เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับหลอดไฟอื่นๆได้ แต่อาจต้องมีการปรับเปลี่ยนค่าของอุปกรณ์เล็กน้อย ซึ่งถ้าไม่แน่ใจสามารถถามมาได้ครับ เรายินดีตอบให้ครับ ถ้าเป็นน้องๆ หนูๆ ที่ยังไม่มีความรู้ควรอยู่ในสายตาของผู้ใหญ่นะครับ
หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่ไม่เคยเรียนทางด้านอิเล็กทรอนิกส์มาก่อนนะครับ ไว้คราวหน้าจะมาทำอะไรเล่นอีกแน่นอนครับ ^^
หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่ไม่เคยเรียนทางด้านอิเล็กทรอนิกส์มาก่อนนะครับ ไว้คราวหน้าจะมาทำอะไรเล่นอีกแน่นอนครับ ^^