หน้าเว็บ


วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

Resistor


         ก่อนอื่นเรามาปูพื้นฐานทางอิเล็กทรอนิกส์กันก่อนด้วยอุปกรณ์พื้นฐานที่หลายๆคนคงเห็นกันบ่อยๆ
ตามแผงวงจรไฟฟ้า แต่อาจไม่รู้ว่ามันคืออะไร ??? ทำไมต้องมี ???  นั่นก็คือ .....
                                                                                                                                                                   
รูปที่ 1. ตัวต้านทาน (Resistor)
ตัวต้านทาน หรือ Resistor

     ทำหน้าที่ต้านทานการไหลของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวมัน และจะเกิดความต่างศักย์ทางไฟฟ้า ระหว่างขั้วทั้งสองของตัวมันเอง  

      ถ้าไม่เข้าใจลองนึกภาพว่าตัวต้านทานคือท่อน้ำ กระแสไฟฟ้าคือน้ำที่ไหนผ่านท่อ ถ้าท่อขนาดเล็กๆ(ความต้านทานมาก) น้ำก็จะไหลผ่านได้น้อย แต่ถ้าท่อใหญ่ขึ้น(ความต้านทานน้อย) น้ำก็จะไหลได้มากขึ้น ซึ่งตัวต้านทานก็เช่นกัน ยิ่งมีค่าความต้านทานมาก กระแสไฟฟ้าก็ไหลผ่านได้น้อย และยิ่งความต้านทานน้อยกะแสไฟฟ้าก็ไหลผ่านได้มาก 

     ตัวต้านทานเรียกสั้นๆ คือ R มีหน่วยเป็นโอห์ม(Ω) มีสัญลักษณ์ทางไฟฟ้าดัง รูปที่ 2   
รูปที่ 2. สัญลักษณ์ทางไฟฟ้า
รูปที่ 3. ตัวต้านทานแบบปรับค่าได้

     
     ตัวต้านทานทานนั้นมีหลายประเภท หลายขนาด หลายหน้าหลายตา ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ ซึ่งเราจะไม่ลงลึก แต่จะให้เห็นบางตัวอย่างที่พบบ่อยๆ อย่างเช่น
     รูปที่ 1 จะเป็นตัวต้านทานแบบค่าคงที่ 
     รูปที่ 3 เป็นตัวต้านทานแบบปรับค่าได้ สังเกตว่าจะมีร่องกากบาทไว้สำหลับใช้ไขควงหมุนปรับค่าได้ 
     รูปที่ 4 เป็นแบบเปลี่ยนค่าได้ตามแสง หรือ Light Detecting Resistor
     รูปที่ 5 เป็นตัวต้านทานแบบค่าคงที่ แต่มีหลายๆตัวต่อกันอยู่
     รูปที่ 6 เป็นแบบเปลี่ยนค่าได้ตามอุณหภูมิ เรียกว่า Thermistor




รูปที่ 4. ตัวต้านทานเปลี่ยนค่าได้
ตามแสง
รูปที่ 5. ตัวต้านทานแบบ Network
รูปที่ 6. ตัวต้านทานเปลี่ยนค่าได้
ตามอุณหภูมิ

รูปที่ 7. ตัวต้านทานแบบชิป

     แต่อย่างว่าครับยุคสมัยได้เริ่มเปลี่ยนไป เทคโนโลยีเริ่มเจริญขึ้นมาก ดูง่ายๆจากโทรศัพท์มือถือของเรา ขนาดเล็กลงมากกว่าสมัยก่อนมาก การที่จะเอาตัวต้านทานตัวใหญ่ๆ ไปประกอบลงในแผงวงจรคงไม่่เหมาะ ปัจจุบันตัวต้านทานได้ถูกลดขนาดลงให้เล็กมากๆ ดังรูปที่ 4 (ที่จริงมีเล็กกว่านี้อีกนะครับ แต่หารูปมาให้ดูไม่ได้ ) สังเกตง่ายๆ ตัวต้านทานแบบชิปนี้จะมีสีดำสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีสีเงินๆอยู่สองด้าน ไม่เชื่อลองแกะโทรศัพท์มือถือออกมาดูได้ครับ(ฮ่าๆๆ ล้อเล่นนะครับ^^) และถ้ามองเห็นจะมีตัวเลขอยู่ด้านบนของตัวมัน 




     ยังมีตัวต้านทานอีกหลายชนิดที่เรายังไม่ได้เอามาให้ดูนะครับ เนื่องจากมันเยอะมาก และอาจจะลึกเกินไป เดี๋ยวจะน่าเบื่อ เอาเป็นว่าอย่างน้อยก็รู้ว่าตัวต้านทานหน้าตาเป็นแบบไหน มีไว้ทำอะไร ซึ่งในบทความต่อไปเราจะเอาเจ้าตัวต้านทานนี้มาทำอะไรเล่นๆกัน โปรดติดตามตอนต่อไปนะครับ



     วันนี้ถ้าผมให้ข้อมูลตกหล่นไปก็บอกกันเข้ามาได้นะครับยินดีรับฟัง เพราะเป็นบทความแรกๆหัดทำ และนั่งทำตอนง่วงๆ ฮ่าๆๆ

ขอบคุณครับ

" Electronics and Lab "
                                                                 www.my-elec.blogspot.com




ขอขอบคุณรูปภาพจาก
http://en.wikipedia.org
theonlinetutorials.com 
www.globalsources.com
http://www.bhashatech.com
http://www.qrbiz.com



1 ความคิดเห็น: