หน้าเว็บ


วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

Resistor (II)

Resistor (II)


       ดังที่ได้กล่าวไปแล้วในภาคแรก ว่าตัวต้านทานมีหลากหลายประเภท หลายแบบ ซึ่งวันนี้เราจะเอาเจ้าตัวต้านทานชนิดที่เรียกว่า"ตัวต้านทานปรับค่าได้" มาลองทำอะไรเล่นๆกัน ก่อนอื่นมารู้จักกับมันก่อนดังรูปที่ 1

รูปที่ 1 ตัวต้านทานปรับค่าได้

        ตัวต้านทานชนิดนี้เราอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งตามลักษณะการใช้งานว่า R Volume ถ้าสังเกตดีๆตามเครื่องเสียง วิทยุ โทรทัศน์รุ่นเก่าๆ จะต้องมีเจ้าตัวนี้อยู่เป็นตัวปรับความดังของเสียงโดยการหมุน ซึ่งมันจะมีขาตั้งแต่ 2 ขาขึ้นไป แต่วันนี้เราจะใช้ตัวที่มี 3 ขาซึ่งหาได้ง่ายตามร้านขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป หรือถ้าใครมีเครื่องใช้ไฟฟ้าเก่าๆ ที่เสียแล้วและไม่ได้ใช้งานอีกแล้วมีเจ้าตัวนี้อยู่ก็สามารถงัดแงะออกมาใช้ได้นะครับ

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

วันนี้เราจะมาทำ "  หลอดไฟปรับความสว่างได้ "

อุปกรณ์ที่ใช้
1. ตัวต้านทานแบบปรับค่าได้( Variable Resistor)


รูปที่ 2 ตัวต้านทานปรับค่าได้
   
      ตัวต้านทานชนิดนี้หาซื้อได้ตามร้านอิเล็กทรอนิกส์ทั่วๆไปครับ ค่าของความต้านทานที่ใช้จะเป็น 10K ขึ้นไปหรือมากกว่าก็ได้ครับ ชนิด B ซึ่งจะมีหน้าตาดังรูปที่ 2 มี 3 ขา
ราคาประมาณ 10 - 15 บาท


2. หลอดไฟ LED


รูปที่ 3 หลอดไฟ LED

       หลอดไฟ LED ขนาด 0.5 mm จะใช้สีใดก็ได้ มีสองขา ถ้าซื้อมาใหม่ๆ จะมีขายาวและสั้นไม่เท่ากัน ซึ่งขาที่ยาวกว่าจะเป็นขั้วบวก สั้นกว่าจะเป็นขั้วลบ หรือถ้าไปหามาแล้วขาถูกตัดยาวเท่ากัน ให้สังเกตตรงฐานของหลอด LED  จะมีรอยตัดอยู่ด้านหนึ่ง นั่นก็คือขั้วลบนั่นเอง หาซื้อได้ในราคา หลอดละ 1 - 10 บาท แล้วแต่ความสว่าง











3. สายไฟ, ถ่านไฟฉายขนาด 1.5 V 2 ก้อน,  รางถ่าน

รูปที่ 4 สายไฟ, รางถ่าน AA ขนาด 2 ก้อน, ถ่าน AA ขนาด 1.5 V 

      สายไฟขนาดใดก็ได้แล้วแต่สะดวก รางถ่าน AA ขนาดสองก้อน และถ่าน AA ขนาด 1.5 V สองก้อน
















วิธีทำ

- อันดับแรกเราต่อสายไฟเส้นแรกเข้ากับตัวต้านทานดังรูปที่  5  โดยให้ต่อขาที่ 1 และ 2 เข้าด้วยกัน

รูปที่ 5 ต่อขา 1 และ 2 เข้าด้วยกัน


- จากนั้นใช้สายไฟอีกเส้นต่อขาที่ 3 ไปยังขั้วบวกของหลอด LED 
- ต่อขั้วลบของหลอด LED ไปยังรางถ่านขั้วลบ
- ต่อรางถ่านขั้วบวกไปยังขาที่ 1 และ 2 ของตัวต้านทาน  ที่ต่อไว้ตอนแรก ดังรูปที่ 6

รูปที่ 6 การต่อทั้งหมด


- เมื่อทำเสร็จแล้วลองใส่ถ่านแล้วทดลองหมุนตัวต้านทานไปทางด้านทวนเข็มนาฬิกาจนสุด สังเกตว่าหลอดไฟจะสว่างน้อยมาก หรือ ถ้าเราใช้ค่าความต้านทานมากๆ หลอดไฟจะดับสนิทไปเลย ดังรูปที่ 7

รูปที่ 7 ลองหมุนตัวต้านทานไปทางทวนเข็มนาฬิกาจนสุด


- ทดลองหมุนไปทางตามเข็มนาฬิกาจนสุดเช่นกัน สังเกตว่าไฟจะติดสว่างขึ้นเรื่อยๆ จน สว่างมาก ดังรูปที่ 8 แต่ถ้าหลอดไฟไม่ติดเลยไม่ว่าจะหมุนไปทางไหน แสดงว่าต้องมีการต่ออะไรบางอย่างผิดขั้ว ลองกลับไปเริ่มต้นดูใหม่นะครับ ไม่ยากๆ ^^

รูปที่ 8 หมุนตัวต้านทานไปทางตามเข็มนาฬิกาจนสุด
     

         ถ้ายังไม่เห็นภาพลองดูดังคลิปตัวอย่างที่ผมทำนะครับ พอดีผมใช้หลอด LED สีเขียวแบบสว่างมากหน่อย ^^



          เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับหลอดไฟอื่นๆได้ แต่อาจต้องมีการปรับเปลี่ยนค่าของอุปกรณ์เล็กน้อย ซึ่งถ้าไม่แน่ใจสามารถถามมาได้ครับ เรายินดีตอบให้ครับ ถ้าเป็นน้องๆ หนูๆ ที่ยังไม่มีความรู้ควรอยู่ในสายตาของผู้ใหญ่นะครับ

         หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่ไม่เคยเรียนทางด้านอิเล็กทรอนิกส์มาก่อนนะครับ ไว้คราวหน้าจะมาทำอะไรเล่นอีกแน่นอนครับ ^^ 

" Electronics and Lab "
                                                                 www.my-elec.blogspot.com





วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

Resistor


         ก่อนอื่นเรามาปูพื้นฐานทางอิเล็กทรอนิกส์กันก่อนด้วยอุปกรณ์พื้นฐานที่หลายๆคนคงเห็นกันบ่อยๆ
ตามแผงวงจรไฟฟ้า แต่อาจไม่รู้ว่ามันคืออะไร ??? ทำไมต้องมี ???  นั่นก็คือ .....
                                                                                                                                                                   
รูปที่ 1. ตัวต้านทาน (Resistor)
ตัวต้านทาน หรือ Resistor

     ทำหน้าที่ต้านทานการไหลของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวมัน และจะเกิดความต่างศักย์ทางไฟฟ้า ระหว่างขั้วทั้งสองของตัวมันเอง  

      ถ้าไม่เข้าใจลองนึกภาพว่าตัวต้านทานคือท่อน้ำ กระแสไฟฟ้าคือน้ำที่ไหนผ่านท่อ ถ้าท่อขนาดเล็กๆ(ความต้านทานมาก) น้ำก็จะไหลผ่านได้น้อย แต่ถ้าท่อใหญ่ขึ้น(ความต้านทานน้อย) น้ำก็จะไหลได้มากขึ้น ซึ่งตัวต้านทานก็เช่นกัน ยิ่งมีค่าความต้านทานมาก กระแสไฟฟ้าก็ไหลผ่านได้น้อย และยิ่งความต้านทานน้อยกะแสไฟฟ้าก็ไหลผ่านได้มาก 

     ตัวต้านทานเรียกสั้นๆ คือ R มีหน่วยเป็นโอห์ม(Ω) มีสัญลักษณ์ทางไฟฟ้าดัง รูปที่ 2   
รูปที่ 2. สัญลักษณ์ทางไฟฟ้า
รูปที่ 3. ตัวต้านทานแบบปรับค่าได้

     
     ตัวต้านทานทานนั้นมีหลายประเภท หลายขนาด หลายหน้าหลายตา ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ ซึ่งเราจะไม่ลงลึก แต่จะให้เห็นบางตัวอย่างที่พบบ่อยๆ อย่างเช่น
     รูปที่ 1 จะเป็นตัวต้านทานแบบค่าคงที่ 
     รูปที่ 3 เป็นตัวต้านทานแบบปรับค่าได้ สังเกตว่าจะมีร่องกากบาทไว้สำหลับใช้ไขควงหมุนปรับค่าได้ 
     รูปที่ 4 เป็นแบบเปลี่ยนค่าได้ตามแสง หรือ Light Detecting Resistor
     รูปที่ 5 เป็นตัวต้านทานแบบค่าคงที่ แต่มีหลายๆตัวต่อกันอยู่
     รูปที่ 6 เป็นแบบเปลี่ยนค่าได้ตามอุณหภูมิ เรียกว่า Thermistor




รูปที่ 4. ตัวต้านทานเปลี่ยนค่าได้
ตามแสง
รูปที่ 5. ตัวต้านทานแบบ Network
รูปที่ 6. ตัวต้านทานเปลี่ยนค่าได้
ตามอุณหภูมิ

รูปที่ 7. ตัวต้านทานแบบชิป

     แต่อย่างว่าครับยุคสมัยได้เริ่มเปลี่ยนไป เทคโนโลยีเริ่มเจริญขึ้นมาก ดูง่ายๆจากโทรศัพท์มือถือของเรา ขนาดเล็กลงมากกว่าสมัยก่อนมาก การที่จะเอาตัวต้านทานตัวใหญ่ๆ ไปประกอบลงในแผงวงจรคงไม่่เหมาะ ปัจจุบันตัวต้านทานได้ถูกลดขนาดลงให้เล็กมากๆ ดังรูปที่ 4 (ที่จริงมีเล็กกว่านี้อีกนะครับ แต่หารูปมาให้ดูไม่ได้ ) สังเกตง่ายๆ ตัวต้านทานแบบชิปนี้จะมีสีดำสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีสีเงินๆอยู่สองด้าน ไม่เชื่อลองแกะโทรศัพท์มือถือออกมาดูได้ครับ(ฮ่าๆๆ ล้อเล่นนะครับ^^) และถ้ามองเห็นจะมีตัวเลขอยู่ด้านบนของตัวมัน 




     ยังมีตัวต้านทานอีกหลายชนิดที่เรายังไม่ได้เอามาให้ดูนะครับ เนื่องจากมันเยอะมาก และอาจจะลึกเกินไป เดี๋ยวจะน่าเบื่อ เอาเป็นว่าอย่างน้อยก็รู้ว่าตัวต้านทานหน้าตาเป็นแบบไหน มีไว้ทำอะไร ซึ่งในบทความต่อไปเราจะเอาเจ้าตัวต้านทานนี้มาทำอะไรเล่นๆกัน โปรดติดตามตอนต่อไปนะครับ



     วันนี้ถ้าผมให้ข้อมูลตกหล่นไปก็บอกกันเข้ามาได้นะครับยินดีรับฟัง เพราะเป็นบทความแรกๆหัดทำ และนั่งทำตอนง่วงๆ ฮ่าๆๆ

ขอบคุณครับ

" Electronics and Lab "
                                                                 www.my-elec.blogspot.com




ขอขอบคุณรูปภาพจาก
http://en.wikipedia.org
theonlinetutorials.com 
www.globalsources.com
http://www.bhashatech.com
http://www.qrbiz.com



วันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

First step


จุดประสงค์ของบล็อก

         เราทำบล็อกนี้ขึ้นมาเพื่อแบ่งบันความรู้ในเชิงวิทยาศาสตร์ อิเล็กทรอนิกส์ และ  เทคโนโลยี เหมาะสำหรับผู้ชมทุกท่าน ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ หรือ 
เรียนมาก่อน    เราพยายามอธิบายให้เข้าใจได้ง่าย และเอาความรู้ที่ได้ไปใช้ได้จริงๆ
        

แนะนำ ติชม

        เรายินดีรับฟังความคิดเห็น คำติชมของทุกๆท่านครับ  

" Electronics and Lab "
                                                                 www.my-elec.blogspot.com